Thursday, September 12, 2019

"สารปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในปลา" เสี่ยงทำมนุษย์ "ดื้อยา" จริงหรือ?

ใครที่ชอบกินปลา โดยเฉพาะปลาดอรี่ที่มีราคาไม่แพง รสชาติดี อาจจะระแวงเล็กน้อย เมื่อมีข่าวว่าพบสารปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในปลาดอรี่ที่นำเข้ามีค่าเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ซึ่งอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาในคน
นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเปิดเผยว่า ข้อมูลดังกล่าวที่ได้รับจากข่าว ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน โดยอย. จะได้ประสานกับผู้วิจัยเพื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะต่อไป
อย่างไรก็ตาม อย. มีการกำกับดูแลความปลอดภัยผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ (รวมถึง กุ้ง และปลา) ที่มีการผลิตและนำเข้าเพื่อจำหน่ายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยสุ่มตัวอย่างเฝ้าระวัง ตามหลักวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยแต่ละปี อย. ได้สุ่มตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในประเทศ เช่น ตลาดสด จำพวกเนื้อสัตว์ (หมู/กุ้ง/ไก่/เครื่องใน/ปลา) โดยตรวจหายาปฏิชีวนะสัตว์ ซึ่งรวมทั้งยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Tetracyclines และ กลุ่ม Sulfonamides ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนแต่อย่างใด สำหรับในส่วนของปลาที่นำเข้าจากต่างประเทศนั้น มีการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์นำเข้า ณ ด่านนำเข้าทุกแห่ง เพื่อตรวจวิเคราะห์หาโลหะหนัก ผลปรากฏว่า ไม่พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐานความปลอดภัย

No comments:

Post a Comment

สาหร่าย อร่อยดีมีประโยชน์ หรือปนเปื้อนสารพิษ? หากคุณเคยทานอาหารที่มี สาหร่าย เป็นส่วนประกอบ คุณจะต้องเข้าใจได้ดีว่าทำไมสาหร่ายถึงเป็นท...