Thursday, September 12, 2019

สาหร่าย อร่อยดีมีประโยชน์ หรือปนเปื้อนสารพิษ?

หากคุณเคยทานอาหารที่มีสาหร่ายเป็นส่วนประกอบ คุณจะต้องเข้าใจได้ดีว่าทำไมสาหร่ายถึงเป็นที่นิยมชื่นชอบกันมากมายทั่วเอเชีย อาจรวมไปถึงทั่วโลก โดยเฉพาะในไทยเอง ก็มีการนำสาหร่ายมาประกอบอาหารทั้งคาวหวานกันอย่างแพร่หลาย นอกจากโปรตีน และสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว สาหร่ายยังมีรสชาติที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “อูมามิ” รสชาติอร่อยกลมกล่อมตามธรรมชาติอีกด้วย
แต่สาหร่ายบางชนิดอาจเติบโตในแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนสารพิษ เช่น สารหนู แคดเมียม และปรอท หากเราบริโภคสาหร่ายที่มีสารปนเปื้อนเข้าไปมากๆ อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ทั้งสารหนูในเลือด ต่อมหมวกไต และตับอ่อน อาจทำให้หลอดเลือดแดงหดตัวลง หากเป็นแคมเมียม ก็จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และยังอาจเป็นสารพิษที่สะสมอยู่ในตับ เลือด และไตได้อีกด้วย นอกจากนี้เมื่อแคดเมียมมีสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงอาจเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเอสโตรเจนได้อีกด้วย
สำหรับในประเทศไทย สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ทำการศึกษาปริมาณธาตุชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ประเภทสาหร่าย ทั้งชนิดที่เป็นวัตถุดิบและชนิดที่ปรุงรสแล้ว สถาบันฯ จึงทำการสุ่มตัวอย่างสาหร่ายที่มีจำหน่ายในท้องตลาด หลายๆ ยี่ห้อ (หลากหลายรสชาติ) สาหร่ายที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เกาหลี, ญี่ปุ่น และจีน รวมถึงสาหร่ายน้ำจืดสไปรูลินา ที่นิยมบริโภคเป็นอาหารเสริม
ผลการศึกษา พบว่า ตัวอย่างสาหร่ายทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากเกาหลี ญี่ปุ่น และจีนทั้งหมด มีปริมาณสารหนูเกินค่ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขของไทย (>2 มก./กก.) โดยเฉพาะสาหร่ายที่นำเข้าจากจีน (ไม่ผ่านการปรุงแต่งรส) ซึ่งจะเป็นสาหร่ายแผ่นกลมที่นิยมนำมาทำเป็นแกงจืดหรือซุป มีปริมาณสารหนูเฉลี่ยสูงที่สุดและเกินค่ามาตรฐานทั้ง 5 ตัวอย่าง โดยค่าเฉลี่ยสูงถึง 37.9+7.0 มก./กก. (ค่าสูงสุด คือ 62.8 มก./กก.)
นอกจากนี้สาหร่ายทุกชนิดยังมีแคดเมียมในปริมาณค่อนข้างสูง มีสาหร่าย 13 ตัวอย่างจากทั้งหมด 51 ตัวอย่าง (25.5%) ที่มีปริมาณแคดเมียมเกิน 3.0 มก./กก. เป็นตัวอย่างสาหร่ายที่นำเข้าจากจีนและที่ผลิตในไทย ส่วนปริมาณอลูมีเนียมนั้น พบว่า ตัวอย่างสาหร่ายปรุงรสของไทย และสาหร่ายดิบจากจีน มีปริมาณอลูมีเนียมค่อนข้างสูง (โดยเฉลี่ย >20 มก./กก.)
ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุในสาหร่ายน้ำจืดสไปรูลินา พบว่า มีปริมาณสารหนู แคดเมียม ตะกั่ว และอลูมีเนียม ต่ำกว่าสาหร่ายทะเลมาก (ไม่เกินมาตรฐานที่กำหนด) ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก สาหร่ายทะเลมักมีการปนเปื้อนธาตุเหล่านี้ เช่น สารหนู แคดเมียม ปรอท หรือตะกั่ว จากน้ำทะเล ซึ่งเป็นที่รองรับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม โดยสารพิษเหล่านี้ปนเปื้อนอยู่ในแม่น้ำซึ่งไหลลงสู่ทะเล หรือเกิดจากอนุภาคสารปนเปื้อนในอากาศ แล้วตกลงสู่ทะเล ทำให้สาหร่ายทะเลดูดซับสารพิษเข้าไปด้วย หรืออีกสาเหตุหนึ่ง อาจเป็นการปนเปื้อนธาตุต่างๆ นี้ จากขบวนการผลิต เช่น กรรมวิธีการแปรรูปสาหร่าย ซอสหรือเครื่องปรุงรสต่างๆ จึงทำให้สาหร่ายปรุงรสบางชนิด มีปริมาณสารหนู ตะกั่ว หรือแคดเมียมสูงกว่าสาหร่ายรสดั้งเดิม

"สารทัลคัม" อันตรายปนเปื้อนในแป้งฝุ่น ที่สาวๆ ต้องระวัง !
แป้งฝุ่นทาตัว หรือจะเป็นแป้งฝุ่นที่ใช้ทาหน้า ซึ่งในปัจจุบันมีวางจำหน่ายหลากหลายรูปแบบ มีคุณสมบัติเน้นความเรียบเนียนของผิวหน้าเป็นพิเศษ ซึ่งในแป้งฝุ่นเหล่านี้ แม้จะมีคุณสมบัติที่ดีในการช่วยซับความมันบนผิวหน้าได้ดี ทำให้ผิวหน้าดูเป็นธรรมชาติ ไม่ขาวโดดจนเกินงาม ส่วนแป้งฝุ่นสำหรับทาตัวก็ยังช่วยทำให้รู้สบายตัว ไม่เหนียวเหนอะหนะ แถมตอนนี้ยังมีเป็นแป้งฝุ่นแบบน้ำหอม ปะแป้งให้ตัวหอมแทนการพรมน้ำหอมได้อีกด้วย
หากลองพลิกดูส่วนประกอบของแป้งเหล่านี้ เราจะพบหนึ่งในนั้นเขียนเอาไว้ว่ามี "Talcum" เป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารชนิดนี้ไม่ใช่ส่วนผสมที่ผู้ผลิตผสมเข้าไปแต่อย่างใด แต่มาจากกระบวนการผลิตแป้ง เรียกได้ว่าเป็นสารปนเปื้อนชนิดหนึ่งที่มีอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว สาวๆ ที่ใช้แป้งฝุ่นกันเป็นประจำ จึงเสี่ยงจะสูดดมเข้าไปและเกิดการสะสม เป็นอันตรายต่อปอดและส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ในอนาคตนั่นเองค่ะ
อันตรายจากสารทัลคัมที่ควรรู้
อันตรายจากสารชนิดนี้จะไม่ส่งผลกับร่างกายโดยทันที แป้งฝุ่นแต่ละชนิดก็จะมีสัดส่วนการปนเปื้อนที่แตกต่างกันออกไป ทัลคัมเป็นแร่ใยหิน ที่ไม่สามารถย่อยสลายเองได้ด้วยจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ เมื่อสูดดมเข้าสู่ปอดแล้วเกิดการสะสมไปเรื่อย เซลล์เยื่อบุภายในปอดจะมีการดักจับแป้ง ส่งผลกระทบต่อระบบหายใจตามมา ส่วนที่พบในแป้งฝุ่นทาตัว หากใช้ในระยะยาวจะเกิดความเสี่ยงทำให้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ในสาวๆ ได้ง่าย แป้งฝุ่นจึงเป็นสิ่งต้องห้ามที่ไม่ควรใช้ใต้ร่มผ้า หรือทาที่บริเวณใกล้เคียงกับน้องสาวที่มีความบอบบาง มีโอกาสที่ฝุ่นแป้งจะเข้าไประคายเคืองภายในช่อคลอด เกิดเป็นอาการผิดปกติต่างๆ ตามมาได้

พบน้ำดื่มบรรจุขวดกว่า 90% มีไมโครพลาสติกปนเปื้อน

องค์การอนามัยโลก (WHO) สั่งทดสอบความเสี่ยงที่อาจเกิดจากพลาสติก หลังจากการตรวจสอบล่าสุดพบว่า น้ำดื่มบรรจุขวดชื่อดังหลายยี่ห้อกว่า 90% มีชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กที่เรียกว่าไมโครพลาสติกปะปนอยู่ในขวด
โดยการวิจัยครั้งนี้ ได้ทำการสุ่มกรวดน้ำดื่มชื่อดัง 11 ยี่ห้อ จำนวน 259 ขวด จาก 19 พื้นที่ ใน 9 ประเทศ อันประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา จีน บราซิล อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก เลบานอน เคนยา และไทย
ผลการตรวจสอบพบว่า โดยน้ำดื่มโดยเฉลี่ยมีปริมาณไมโครพลาสติกปะปนอยู่ที่ 325 เม็ดต่อปริมาณน้ำหนึ่งลิตร  ยี่ห้อที่มากที่สุดมีปริมาณไมโครพลาสติกปะปนอยู่ถึง 10,000 เม็ด โดยหลังจากตรวจสอบน้ำดื่มทั้ง 259 ขวดแล้ว พบว่ามีเพียง 17 ขวดเท่านั้น ที่ไม่มีไมโครพลาสติกปะปนอยู่
นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการวิจัยกล่าวว่า อนุภาคพลาสติกที่พบในน้ำดื่มบรรจุขวดเหล่านี้ มีปริมาณมากกว่าที่เคยตรวจพบในน้ำประปาถึงประมาณสองเท่า
สำหรับชนิดของพลาสติกที่ถูกตรวจพบนั้น ส่วนใหญ่เป็นโพลีโพรพิลีน (Polypropylene) ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดที่นำมาใช้ทำฝาบรรจุขวดนั่นเอง  
สำหรับเรื่องนี้โฆษกขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวจาก The Guardian ว่า  แม้ในขณะนี้จะยังไม่มีรายงานถึงผลกระทบของไมโครพลาสติกที่มีต่อร่างกายมนุษย์ แต่ทาง WHO ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้มีการจัดตั้งทีมค้นคว้าวิจัย เพื่อศึกษาถึงความเสี่ยงของเรื่องนี้อย่างรอบด้านแล้ว

อันตรายจาก “น้ำแข็ง” ปนเปื้อน “จุลินทรีย์”

เมืองไทยเป็นเมืองร้อน แทบจะไม่มีวันไหนเลยที่เราไม่ทานเครื่องดื่มเย็นๆ สักแก้วเพื่อดับร้อน (เว้นแต่คุณจะอยู่ในห้องแอร์ตลอดทั้งเวลา) แต่น้ำแข็งที่เราทานอยู่ ก่อนที่จะมาใส่ในแก้วให้เราได้บริโภคกัน มันผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมายจนทำให้เกิดการปนเปื้อน และทำให้เราป่วยได้หรือไม่
คุณเคยเห็นพ่อค้าแม่ค้าแช่อาหาร ทั้งเนื้อสัตว์ ผักผลไม้สด และเครื่องดื่มต่างๆ (ทั้งขวด) ลงไปในน้ำแข็ง แล้วใช้น้ำแข็งเหล่านั้นตักใส่แก้วเสิร์ฟให้ลูกค้าหรือไม่?
คุณเคยเห็นเด็กขนน้ำแข็งด้วยกระบุง ตะกร้า ที่ลากไปมาบนพื้นที่เต็มไปด้วยฝุ่นผง ควันรถ โคลน หรือสิ่งสกปรกอื่นๆ หรือไม่?
คุณเคยเห็นบริโภคน้ำแข็ง แล้วพบว่ามีกลิ่นแปลกๆ หรือเจอสิ่งแปลกปลอมในน้ำแข็ง เช่น พลาสติก เศษอาหาร ซากแมลงที่ตาย หรืออื่น หรือไม่?
ถ้าใช่ คุณอาจเสี่ยงได้รับจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำแข็ง จนอาจทำร้ายสุขภาพได้

อันตรายจาก “น้ำแข็ง” ปนเปื้อน “จุลินทรีย์”

  1. ทำให้ท้องร่วง ท้องเสีย จากการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ
  2. เสี่ยงติดพยาธิ จากการปนเปื้อนพยาธิ หรือไข่พยาธิที่มากับมูลสัตว์
  3. ปวดท้อง จากเชื้อแบคทีเรียที่มาจากน้ำดิบที่ใช้ผลิตทำน้ำแข็งที่ไม่ได้มาตรฐาน
  4. ติดโรคต่างๆ จากคนขนส่งน้ำแข็ง ที่แต่งตัวไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ไอจามรดน้ำแข็ง เป็นต้น


น้ำแข็งที่สะอาด ปลอดภัย ต้องมีลักษณะดังนี้

  1. น้ำแข็งต้องใส สะอาด ไม่ขุ่น ไม่หมอง ไม่มีสิ่งแปลกปลอมเจอปน และไม่มีกลิ่น
  2. น้ำแข็งที่แบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายต้องมีภาชนะปกปิดมิดชิด ไม่เป็นสนิม ตั้งสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร
  3. ไม่ควรวางน้ำแข็งอยู่บนพื้น ทางเท้าหรือใกล้ถังขยะ ภาชนะที่ใช้เก็บน้ำแข็งสามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย
  4. ไม่ใช้มือกอบน้ำแข็งเพื่อเสิร์ฟน้ำแข็งให้ลูกค้า หรือแม้กระทั่งการตักเพื่อนำไปประกอบอาหาร
  5. ห้ามนำอาหารหรือเครื่องดื่มมาแช่ในน้ำแข็งที่ใช้บริโภคโดยเด็ดขาด

"สารปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในปลา" เสี่ยงทำมนุษย์ "ดื้อยา" จริงหรือ?

ใครที่ชอบกินปลา โดยเฉพาะปลาดอรี่ที่มีราคาไม่แพง รสชาติดี อาจจะระแวงเล็กน้อย เมื่อมีข่าวว่าพบสารปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในปลาดอรี่ที่นำเข้ามีค่าเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ซึ่งอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาในคน
นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเปิดเผยว่า ข้อมูลดังกล่าวที่ได้รับจากข่าว ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน โดยอย. จะได้ประสานกับผู้วิจัยเพื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดเกี่ยวกับการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะต่อไป
อย่างไรก็ตาม อย. มีการกำกับดูแลความปลอดภัยผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ (รวมถึง กุ้ง และปลา) ที่มีการผลิตและนำเข้าเพื่อจำหน่ายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยสุ่มตัวอย่างเฝ้าระวัง ตามหลักวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยแต่ละปี อย. ได้สุ่มตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในประเทศ เช่น ตลาดสด จำพวกเนื้อสัตว์ (หมู/กุ้ง/ไก่/เครื่องใน/ปลา) โดยตรวจหายาปฏิชีวนะสัตว์ ซึ่งรวมทั้งยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Tetracyclines และ กลุ่ม Sulfonamides ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนแต่อย่างใด สำหรับในส่วนของปลาที่นำเข้าจากต่างประเทศนั้น มีการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์นำเข้า ณ ด่านนำเข้าทุกแห่ง เพื่อตรวจวิเคราะห์หาโลหะหนัก ผลปรากฏว่า ไม่พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐานความปลอดภัย

นร.เสี่ยงอันตราย! ผลวิจัย
พบอาหารกลางวันปนเปื้อนยาฆ่าแมลง

"มูลนิธิการศึกษาไทย" เผยผลวิจัยตรวจหาสารตกค้างในอาหารกลางวันเด็กนักเรียน พบยาฆ่าแมลงในผัก ผลไม้เกือบ100% ขณะที่ในปัสสาวะครู-นักเรียน มีสารเคมีตกค้างถึง 99%
นายมารุต จาติเกตุ เลขาธิการมูลนิธิการศึกษาไทย เปิดเผยว่า ทางมูลนิธิฯได้ดำเนินการศึกษาวิจัยตามโครงการการจัดการสารเคมีในระดับท้องถิ่น และการส่งเสริมการบริโภคอาหารกลางวันที่ปลอดภัยใน 55 โรงเรียน จาก 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ 20 แห่ง ปทุมธานี 11 แห่ง สกลนคร 12 แห่ง และพังงา 12 แห่งระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 - ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) องค์กร The Field Alliance มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Greenpeace Thailand
ผลจากการตรวจหาสารตกค้างในอาหารกลางวันโรงเรียน ในผักที่โรงเรียนใช้มากที่สุด และบ่อยที่สุด 5 ชนิด 4 ภาค พบว่าเด็กทุกภาคกินผักเหมือนกันเกือบทุกชนิด เช่น แครอท กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง คะน้า มะเขือเจ้าพระยา มะเขือเทศ และในการตรวจได้ส่งเข้าห้องแล็ป และตรวจเพียง 2 กลุ่ม คือ ออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphate) กับ พัยรีธรัม (pyrethrum) เพราะได้สำรวจชาวบ้านแล้วว่าใช้อะไรบ้าง ปรากฏว่ามีการใช้สารฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตมากในผักกับผลไม้ โดยเฉพาะผักที่ส่งตรวจ 5 ชนิด พบเกือบ 100% และสารที่พบมากที่สุด คือคลอร์ไพริฟอส ส่วนสารฆ่าแมลงพัยรีธรัม ก็ใช้มากพอๆ กับคาร์บาเมต คือ 92%
นายมารุต กล่าวว่า ที่น่าตกใจคือมีการตรวจปัสสาวะด้วย ทั้งนักเรียนและครู จำนวน 436 ตัวอย่างใน 4 จังหวัด พบ ออร์กาโนฟอสเฟต ตกค้างในปัสสาวะถึง 99% ของจำนวนตัวอย่าง ซึ่งสารออร์กาโนฟอสเฟต ก็คือสารที่มีฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทรอบนอก โดยจะจับตัวกับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส ที่มีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทหยุดการทำงาน ผลการจับตัวกับเอ็นไซม์ทำให้ปริมาณของเอ็นไซม์ลดลง และมีผลต่อกล้ามเนื้อ รวมถึงต่อมต่างๆ และกล้ามเนื้อเรียบ ที่ควบคุมอวัยวะต่างๆ ในการทำงานมากกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีไม่มากพอที่จะหยุดการทำงาน จึงพบอาการม่านตาหรี่ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ อาเจียน มือสั่น เดินโซเซ ชัก หมดสติ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อ ต่อมต่างๆ รวมถึงทำให้ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมามาก ต่อมเหงื่อก็ขับเหงื่อออกมามากเช่นกัน
เลขาธิการมูลนิธิการศึกษาไทย ชี้ว่า เมื่อผู้บริโภครับสารเคมีเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก จะเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น มีความพิการทางสมอง ร่างกาย นิ้วมือและนิ้วเท้าเกินหรือขาด ทั้งยังเป็นพิษต่อระบบสมอง เกิดผลต่อระบบประสาท ทำให้พัฒนาการค่อนข้างล่าช้ากว่าเด็กปกติ บางรายอาจเป็นโรคออทิสติก หอบหืด สมาธิสั้น การผิดปกติทางด้านอารมณ์ อาทิ โรคซึมเศร้า เป็นต้น
"เป็นเรื่องที่ต้องทำงานหนักกว่านี้ ขณะเดียวกันในการทำวิจัยครั้งนี้ ตรวจแค่กลุ่ม OP ซึ่งจริงๆ แล้วควรตรวจให้ครบทุกกลุ่ม อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้ ได้ส่งกลับ ให้กับทางผู้ปกครองและโรงเรียน ทำให้โรงเรียนในโครงการ ปรับเปลี่ยนเมนูบ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงผักที่ปลูกเชิงพาณิชย์ หันมาเน้นผักพื้นบ้านแทน นอกจากนี้ยังมีการอบรมเรื่องการปรุงอาหารกลางวันในโรงเรียน ก็พบว่าโรงเรียนมีการใช้สารปรุงแต่งมาก เมื่อมีการอบรมก็ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนในทางที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันในส่วนของการขับเคลื่อน เช่น ที่สกลนคร มีนายอำเภอที่เข้มแข็ง จึงผลักดัน เกือบทุกโรงเรียนในอำเภอให้เข้าสู่การผลิตที่ปลอดภัย แต่ในระดับจังหวัด ยังไม่เห็น แม้ว่าทางผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 4 จังหวัดจะส่งคนมาร่วมตลอด แต่ยังไม่มีการชูธง" นายมารุต กล่าว
สำหรับโครงการการจัดการสารเคมีในระดับท้องถิ่น และการส่งเสริมการบริโภคอาหารกลางวันที่ปลอดภัยใน 55 โรงเรียน ได้ออกแบบไว้ 3 เรื่องหลักๆ คือ การทำวิจัยเพื่อติดตามสถานการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็ก แล้วนำข้อมูลคืนสู่ชุมชนและโรงเรียน เพื่อให้เกิดการปกป้องนักเรียนจากผลกระทบของสารเคมี นอกจากนี้ยังทำรูปแบบจัดสร้างอาหารปลอดภัยเข้าโรงเรียน โดยอบรม โรงเรียน ผู้ผลิต เกษตรกร กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ รวมถึงชาวบ้านที่อยู่ใกล้โรงเรียน เมื่อโรงเรียนต้องการพืชผัก จะทำอย่างไร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัย ขณะเดียวกันก็ทำนโยบายควบคู่กันไปด้วย ตั้งแต่ระดับโรงเรียน ขึ้นมาในระดับยุทธศาสตร์จนถึงระดับกระทรวง
จากข้อมูลที่ได้นี้ ทางมูลนิธิการศึกษาไทยได้จัดทำข้อเสนอแนะต่อกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งทางกรรมการเห็นด้วยหมด และตอนนี้กำลังทำรายงานเสนอรัฐมนตรี เราจึงรอกระทรวงแถลงแผนการ นโยบายอาหารกลางวันโรงเรียน แต่โดยหลักแล้ว คือต้องการให้โรงเรียนปลอดสารเคมี อาหารกลางวันโรงเรียนปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่แค่ผักผลไม้อย่างเดียว เนื่องจากตรวจเจอฟอร์มาลีน บอแรกซ์ ในเนื้อสัตว์ ลูกชิ้น ไส้กรอกด้วย ฉะนั้นต้องมีรูปแบบการผลิตที่ปลอดภัย ซึ่งตรงนี้รู้สึกเป็นห่วง เพราะทันทีที่กระทรวงศึกษาประกาศออกไป ถามว่าโรงเรียนจะไปซื้อวัตถุดิบปลอดภัยจากที่ไหน ถือเป็นโจทย์ที่หลายโรงเรียนกลุ้มใจทำไม่ได้ แต่เป็นนโยบายที่ดี ดังนั้นทุกฝ่ายต้องทำงานกันอีกมาก
ทั้งนี้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีประมาณ 30,000 แห่ง ถ้ารวมเอกชนและวิทยาลัยด้วยก็ประมาณ 50,000 ถึง 60,000 แห่ง เหล่านี้คือตลาดที่จะเกิดขึ้น ถ้านโยบายนี้ออกไป ก็ต้องมีคนผลิตเข้ามา โชคดีที่ขณะนี้ ทางมูลนิธิชีววิถี (Biothai) มีแผนเรื่องเกษตรอินทรีย์ 20 จังหวัด ถ้ามาร่วมมือกันได้ก็จะช่วยได้อีกระดับหนึ่ง

Wednesday, September 11, 2019

                                     4 อาชีพเสี่ยง "โรคผิวหนังจากสารเคมี"

4 อาชีพเสี่ยง "โรคผิวหนังจากสารเคมี"

โรคผิวหนัง จากสารเคมี
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี เป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มผู้ที่ทำงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้วัสดุและสารเคมีที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอย่างแพร่หลาย มีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม หรือหากสัมผัสถูกผิวหนังโดยตรงโดยไม่มีเครื่องป้องกัน จะทำให้เกิดการระคายเคืองเกิดผื่นคันภูมิแพ้ที่ผิวหนัง และอาจเป็นโรคผิวหนังได้
อาชีพเสี่ยงโรคผิวหนังจากสารเคมี
อาชีพที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนังจากสารเคมีได้แก่
1.คนงานก่อสร้างที่ผสมปูนซีเมนต์
2.คนงานในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับโลหะ เครื่องหนัง ยางสีย้อมผ้า กาวพลาสติก เส้นใยแก้ว สีพ่น รวมทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่อง
3.คนที่ต้องทำงานสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะชุบนิกเกิล งานอุตสาหกรรมทำเครื่องหนัง ดอกไม้พลาสติก

4.เกษตรกรที่ต้องใช้ปุ๋ยสารกำจัดแมลงศัตรูพืช
ที่มา sanook

สาหร่าย อร่อยดีมีประโยชน์ หรือปนเปื้อนสารพิษ? หากคุณเคยทานอาหารที่มี สาหร่าย เป็นส่วนประกอบ คุณจะต้องเข้าใจได้ดีว่าทำไมสาหร่ายถึงเป็นท...